June 14, 2022

Google ใช้เกณฑ์อะไรในการตัดสินว่าเว็บไซต์ของคุณควรถูกจัดอันดับ

ทุกคนเคยสงสัยไหมคะว่า Google ใช้เกณฑ์อะไรในการตัดสินว่า เว็บไซต์ที่ดี ที่ควรถูกจัดอันดับให้อยู่หน้าแรกนั้นเป็นอย่างไร เพราะบ่อยครั้งการปรับแต่งเว็บไซต์แต่ยังไม่ถูกต้องตามหลักการที่ Google กำหนดไว้นั้น เป็นเรื่องยากที่เว็บไซต์จะขึ้นมาอยู่อันดับต้น ๆ 

ซึ่งในวันนี้เราจะพาทุกคนไปรู้จักกับเกณฑ์หรืออัลกอริทึม (algo­rithm) ที่ Google ใช้ในการตัดสินถึงเว็บไซต์ที่ดีควรถูกจัดอันดับนั้นมีอะไรบ้าง

เกณฑ์แรกที่ Google ใช้ในการตัดสินเว็บไซต์ที่ดี เรียกว่า E — A — T Factor

คือ ตัวย่อใหม่ที่ Google สร้างขึ้นมาเพื่อใช้ตัดสินว่าเว็บไซต์ใดควรถูกจัดอันดับ ซึ่ง E — A — T จะประกอบไปด้วย ความเชี่ยวชาญ อำนาจ และความน่าเชื่อถือ

ความเชี่ยวชาญ หมายถึง ผู้เขียนบทความหรือคนสร้าง Con­tent ในแต่ละเว็บไซต์ต้องมีข้อมูลหรือเอกสารสนับสนุนให้ดูว่าเว็บไซต์ดูมีความเชี่ยวชาญในเรื่อง ๆ นั้น

อำนาจ หมายถึง ผู้สร้าง Con­tent ตัว Con­tent หรือเว็บไซต์ที่ลงบทความและ Con­tent ต่าง ๆ มีความเป็นเจ้าของ Con­tent นั้นจริง ๆ ส่งผลให้ผู้อ่านอยากอยู่บนเว็บไซต์และคลิกต่อไปหน้าอื่น ๆ 

ความน่าเชื่อถือ หมายถึง ความสดใหม่ของ Con­tent ไม่ Copy มาจากที่อื่น

EAT FACTOR

แนวทางทำเว็บไซต์ให้ผ่านเกณฑ์ E (ความเชี่ยวชาญ)

แนวทางการทำเว็บไซต์ให้ผ่านเกณฑ์ A (อำนาจ)

แนวทางการทำเว็บไซต์ให้ผ่านเกณฑ์ T (ความน่าเชื่อถือ)

 

YMYL

 

เกณฑ์ที่สองที่ Google ใช้ในการตัดสินเว็บไซต์ที่ดี เรียกว่า YMYL Affected

คือ  อัลกอริทึมอีกประเภทของ Google ย่อมาจาก “Your Mon­ey or Your Life” จะเป็นเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ ความสุข หรือการเงิน ซึ่งเจ้าของบทความต้องแสดงความเชี่ยวชาญและความน่าเชื่อถือมากขึ้น เพราะเกณฑ์ YMYL จะเข้มงวดกับ Con­tent บางประเภท 

ประเภทเว็บที่ได้รับผลกระทบจาก YMYL Affected

ตัวอย่าง Key­word ที่ได้รับผลกระทบจาก YMYL Affected 

วิธีแก้ปัญหา YMYL Affected ทำอย่างไร? ให้ผ่านเกณฑ์

เช็คว่าเว็บไซต์ของคุณผ่านเกณฑ์ YMYL หรือไม่?

  1. ปรับแต่ง On-page SEO (ตามหลักที่ถูกต้อง)
  2. มี Text 1,000 คำขึ้นไป
  3. เติมบริบทข้อความที่เกี่ยวข้องกับทางการแพทย์ลงไปในบทความ เช่น ชื่อแพทย์, ตำแหน่ง, แทรกคำศัพท์ทางการแพทย์, ถ้าเป็นคลินิกความงามให้สร้าง Land­ing Page ประวัติแพทย์แต่ละคนด้วย
  4. ชื่อ Admin ที่เขียนบทความ (ถ้าใส่ชื่อแพทย์เป็นผู้เขียนจะทำให้เว็บไซต์ดูน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น) รวมไปถึงประวัติผู้เขียนหรือ Con­tent Bio ก็มีส่วนสำคัญด้วยเช่นเดียวกัน หรืออาจจะลงท้ายว่าบทความนี้เขียนจากแพทย์
  5. ควรมีชื่อคนเขียนบทความหลากหลายคน ไม่ควรเขียนจากคน ๆ เดียว
  6. ควรทำ Exter­nal Link ในคำศัพท์เทคนิคทางการแพทย์โดยเลือกเว็บไซต์ที่เป็นความรู้เฉพาะด้าน จะเป็นเว็บไทยหรือเว็บต่างประเทศก็ได้
  7. จำเป็นต้องมีเอกสารอ้างอิงใต้บทความเสมอและควรทำเป็น Exter­nal Link 
  8. สร้างบริบทเว็บไซต์ให้เป็นโรงพยาบาลหรือสถาบันการเงิน
  9. Research ข้อมูลของเว็บไซต์โรงพยาบาลที่เป็น Infor­ma­tion และนำมาใช้กับเว็บไซต์ เช่น ประวัติแพทย์, เอกสารรับรองมาตรฐานต่าง ๆ, รางวัลต่าง ๆ (ถ้ามี)
  10. ผลิตภัณฑ์ที่ขายบนเว็บไซต์ต้องผ่านการรับรองจากที่ไหนบ้าง? มีงานวิจัยอะไรรองรับบ้าง ต้องเขียนข้อมูลให้ละเอียด หลังจากนั้นก็ทำ Exter­nal Link ส่งไปกลับด้วยเสมอ
  11. ต้องมีข้อมูลที่ตรงกับความเป็นจริงเสมอ รวมไปถึงคำศัพท์เฉพาะทางต่าง ๆ ต้องสะกดถูกต้อง เช่น วันที่ ปีผลิต วันหมดอายุ ข้อกฎหมาย ชนิดของยา หรือส่วนผสมของอาหารต่าง ๆ
  12. บทความต้องห้ามคัดลอกมาจากที่อื่นเด็ดขาด
  13. ต้องมีบทความมากกว่า 20 บทความขึ้นไป
  14. ต้องมีหน้า Con­tact และเขียนข้อมูลให้ละเอียดเสมอ

 

จะเห็นได้ว่าทุก ๆ Core algo­rithm ของ Google จะมีเว็บไซต์ที่ได้รับผลกระทบเสมอ เพราะ Google พัฒนาอัลกอริทึมอยู่เป็นประจำเพื่อต้องการกำจัดเว็บไซต์ขยะหรือเว็บที่ไม่น่าเชื่อถือให้ออกไปจาก Search Engine โดยอัลกอริทึมตัวใหม่ที่ Google เริ่มนำมาใช้มีชื่อว่า Core Web Vital (ติดตามอ่านบทความเกี่ยวกับ Core Web Vital ได้เร็ว ๆ นี้)

ปรึกษาการทำ SEO ฟรี! คลิก

Line Enterblueprint

 

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences Save