การ วางแผน ธุรกิจ

Blogs

BLOGs
link backlink
stp marketing คืออะไร

หัวข้อที่คุณอาจสนใจ

STP Marketing
เเชร์ :

stp marketing คือ

stp marketing คือ

การวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาด ด้วยการวิเคราะห์ปัจจัยต่างๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลและรายละเอียดที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการของกลุ่มเป้าหมายได้มากที่สุด ถือเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้เกิดผลลัพธ์ออกมาเป็นที่น่าพอใจ

ในปัจจุบันมีเครื่องมือในการวิเคราะห์อยู่มากมายหลายอย่างด้วยกัน แต่เครื่องมือที่ธุรกิจส่วนใหญ่นิยมกันใช้เป็นจำนวนมาก ก็คือ STP Marketing นั่นเอง 

ทำความรู้จัก stp marketing

ทำความรู้จัก stp marketing

stp marketing คือ กระบวนการที่ใช้ในการวางแผนการตลาดเพื่อให้สินค้า หรือบริการสามารถตอบโจทย์ความต้องการของตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด ช่วยทำให้ธุรกิจสามารถตอบสนองลูกค้าได้ตรงเป้าหมายและถูกวิธี

ไม่ว่าจะเป็นการโฆษณาประชาสัมพันธ์ การวางตัวของแบรนด์ หรือการเลือกจุดขาย โดยเน้นที่ความสำคัญ และกลุ่มลูกค้าที่แตกต่างกันออกไป รวมไปถึงพฤติกรรมการบริโภคสินค้าร่วมเข้าไปด้วย เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่สำคัญในการวางแผนทางการตลาด และช่วยให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ ในการเข้าถึงลูกค้า รวมไปถึงยังช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับธุรกิจได้เป็นอย่างดีอีกด้วย 

ขั้นตอนการทำ stp marketing

หลังจากที่ได้ทำความรู้จัก stp marketing กันไปแล้ว คราวนี้มาดูในส่วนของวิธีการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อใช้ในการวางแผนทางการตลาดกันบ้าง ซึ่งในกระบวนการวิเคราะห์ทางการตลาดนั้น ได้แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอนดังนี้ 

S : Segmentation การแบ่งส่วนตลาด 

  • S : Segmentation การแบ่งส่วนตลาด 

การแบ่งกลุ่มลูกค้าออกเป็นกลุ่มๆ ด้วยวิธีการต่าง ๆ เพื่อวิเคราะห์ภาพรวมของตลาด โดยหากลุ่มลูกค้าที่แท้จริงของสินค้าหรือธุรกิจให้ตรงกับความต้องการมากที่สุด ซึ่งสามารถทำได้หลายวิธีด้วยกัน เช่น 

    • แบ่งกลุ่มลูกค้าตามประเภทต่าง ๆ เช่น เพศ อายุ อาชีพ รายได้ การศึกษา พฤติกรรม เป็นต้น

    • วิเคราะห์ความต้องการสินค้า หรือบริการของแต่ละกลุ่ม

    • เลือกกลุ่มเป้าหมายที่ตรงกับสินค้า หรือบริการมากที่สุด

ขั้นตอนการแบ่งส่วนตลาดนี้ เป็นการวิเคราะห์ที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะช่วยให้คุณพบช่องทางในการสร้างแคมเปญที่น่าสนใจ โดยใช้ข้อมูลในด้านต่างๆ เพื่อให้คุณเข้าใจความต้องการ ความชื่นชอบ และเหตุผลการเลือกซื้อสินค้าหรือบริการของลูกค้าแต่ละกลุ่มได้เป็นอย่างดี

อีกทั้งยังช่วยให้คุณสามารถสร้างแคมเปญที่เหมาะสมกับความต้องการและความสนใจของแต่ละกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย นอกจากนี้ยังทำให้คุณสามารถทำการปรับแต่งกลยุทธ์ทางการตลาดให้มีความเหมาะสม อีกทั้งยังช่วยให้คุณใช้ทรัพยากรต่างๆ

เช่น เวลา และเงินทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย ที่สำคัญเลยก็คือ ช่วยให้ธุรกิจสามารถเลือกกลุ่มลูกค้าได้ตรงกับความต้องการ และสร้างความแตกต่างจากคู่แข่งในตลาดได้เป็นอย่างดี 

T : Targeting เลือกลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย 

  • T : Targeting เลือกลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย 

ในการเลือกกลุ่มลูกค้าเป้าหมายให้เหมาะสม ตรงกับสินค้า หรือบริการ จะมีวิธีการนำข้อมูลที่ได้จากขั้นตอนการแบ่งส่วนตลาด หรือ “Segmentation” มาวิเคราะห์และสร้างกลยุทธ์ทางการตลาด โดยจะมีการเลือกกลุ่มลูกค้าดังนี้

    • เลือกกลุ่มลูกค้าที่มีโอกาสซื้อสินค้าหรือบริการของเรา 

การเลือกกลุ่มลูกค้าที่ตรงกับเป้าหมาย จะช่วยให้ธุรกิจสามารถใช้ทรัพยากรในด้านต่างๆ เช่น เวลาและงบประมาณได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

    • พิจารณาขนาดของกลุ่มเป้าหมาย 

การเลือกกลุ่มลูกค้า โดยพิจารณาถึงขนาดของกลุ่มเป้าหมาย จะช่วยให้ธุรกิจสามารถ เจาะจงกลุ่มลูกค้าที่ตรงกับความต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยที่ไม่ต้องสูญเสียทรัพยากรในด้านต่างๆ ไปกับกลุ่มลูกค้าที่ไม่เกี่ยวข้อง

    • เลือกกลุ่มที่มีความสอดคล้องกับสินค้าหรือบริการ

การเลือกกลุ่มลูกค้าที่ตอบโจทย์ความต้องการกับเป้าหมาย จะช่วยให้ธุรกิจสามารถบริการกลุ่มลูกค้าได้อย่างตรงจุดและมีประสิทธิภาพ รวมไปถึงยังสร้างความแตกต่างจากคู่แข่งได้เป็นอย่างดี เพิ่มโอกาสสร้างยอดขายให้มากขึ้นกว่าเดิม

ขั้นตอนการเลือกกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย หรือ “Targeting” นี้เป็นขั้นตอนที่เข้ามาช่วยทำให้ธุรกิจสามารถเลือกกลุ่มลูกค้าได้ตรงกับสินค้า หรือบริการ และยังช่วยสร้างความแตกต่างในตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย

P : Positioning วางตำแหน่งทางการตลาด 

  • P : Positioning วางตำแหน่งทางการตลาด 

การกำหนดแผนการตลาดของสินค้า หรือบริการ ให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้นนั้น สามารถทำได้ง่ายๆ โดยใช้ข้อมูลจากขั้นตอนการแบ่งตลาด “Segmentation” และ การเลือกกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย “Targeting” มาวิเคราะห์ร่วมกันเพื่อสร้างจุดแข็งของธุรกิจ ซึ่งจะสามารถกำหนดแผนการตลาดได้ดังนี้ 

    • กำหนดจุดยืนของสินค้า หรือบริการ เพื่อให้เป็นที่รู้จักของกลุ่มลูกค้าและมีความแตกต่างจากคู่แข่ง

    • สร้างเอกลักษณ์ที่แตกต่างจากคู่แข่ง จะช่วยทำให้ลูกค้ารู้จักและจำได้

    • สื่อสารคุณค่าของสินค้าหรือบริการให้ชัดเจน จะช่วยทำให้ลูกค้าเข้าใจในสินค้า หรือบริการได้ดีขึ้น

ขั้นตอนการวางแผนทางการตลาด หรือ “Positioning” เป็นขั้นตอนที่ช่วยทำให้ธุรกิจ สามารถกำหนดแผนการตลาดได้ง่าย และเกิดประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะช่วยสร้างเอกลักษณ์ที่แตกต่าง และบ่งบอกถึงคุณค่าของสินค้า หรือบริการได้ชัดเจน

ข้อดีของ stp marketing

การทำ STP Marketing มีข้อดีหลายอย่าง ที่ช่วยทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จตามต้องการ ดังนี้

  • เพิ่มประสิทธิภาพทางการตลาด : ช่วยทำให้ธุรกิจสามารถเน้นทำสิ่งที่สำคัญและตอบสนองต่อความต้องการของกลุ่มลูกค้าได้อย่างเหมาะสมและตรงจุด
  • เสริมสร้างแบรนด์ : ช่วยให้ธุรกิจสามารถกำหนดแผนการตลาดและความแตกต่างของแบรนด์ในตลาดได้ดี ทำให้ลูกค้ารู้จักและเชื่อมั่นในสินค้าหรือบริการมากขึ้น
  • เพิ่มความสามารถในการตอบสนอง : ช่วยให้ธุรกิจสามารถตอบสนองต่อความต้องการของกลุ่มลูกค้าในระดับที่ดีที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการปรับแต่งผลิตภัณฑ์ การสื่อสาร หรือการเลือกช่องทางการขายที่เหมาะสม
  • การลดความเสี่ยงในการตลาด : ช่วยให้ธุรกิจสามารถลดความเสี่ยงทางการตลาด โดยการเน้นทำสิ่งที่สำคัญและเลือกกลุ่มลูกค้าที่เหมาะสม ลดโอกาสในการลงทุนที่ไม่จำเป็น

ข้อเสียของ stp marketing

ข้อเสียของ stp marketing

การทำ STP Marketing ไม่ได้มีข้อเสียโดยตรง แต่ก็มีบางเรื่องที่ควรพิจารณาด้วยเช่นกัน ดังนี้

  • ความซับซ้อนในการวางแผน : เพราะมีขั้นตอนการวิเคราะห์ที่ค่อนข้างซับซ้อน ทำให้ต้องใช้เวลาในการวางแผนและวิเคราะห์ตลาด 
  • ความยากในการเลือกกลุ่มลูกค้า : การเลือกกลุ่มลูกค้าที่เหมาะสมอาจเป็นงานที่ยาก โดยเฉพาะในธุรกิจที่มีกลุ่มลูกค้าหลากหลาย แต่การใช้ข้อมูลจากการวิเคราะห์ Segmentation จะช่วยให้เลือกกลุ่มลูกค้าได้ง่ายขึ้น
  • ความเปลี่ยนแปลงทางการตลาด : ตลาดมีความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ดังนั้นการทำ STP จึงต้องคอยติดตามและปรับปรุงอย่างเหมาะสมกับสภาพตลาดในแต่ละช่วงเวลา
  • ความเสี่ยงในการเลือกกลุ่มลูกค้า : การเลือกกลุ่มลูกค้าที่ไม่เหมาะสมอาจทำให้สูญเสียโอกาสในการตลาด และเสี่ยงในการลงทุนโดยที่ไม่จำเป็น

ตัวอย่างการทำ stp marketing

  • ธุรกิจร้านค้าเสื้อผ้าออนไลน์

การแบ่งตลาด (Segmentation) : ทำการแบ่งกลุ่มลูกค้าตามเพศ , อายุ หรือแบ่งตามสไตล์การแต่งตัว

การเลือกกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย (Targeting) : เลือกกลุ่มลูกค้าที่ชอบเสื้อผ้าแฟชั่น

การวางแผนการตลาด (Positioning) : สร้างเอกลักษณ์ของร้านค้า ซึ่งอาจจะเน้นที่ความทันสมัยและดีไซน์ของเสื้อผ้า

  • ธุรกิจร้านอาหาร

การแบ่งตลาด (Segmentation)  : ทำการแบ่งกลุ่มลูกค้าตามรสชาติ , วัย หรือรายได้

การเลือกกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย (Targeting) : เลือกกลุ่มลูกค้าที่ชอบอาหารประเภทนั้นๆ 

การวางแผนการตลาด (Positioning) : สร้างเอกลักษณ์ของร้านอาหาร เน้นความอร่อยและความสะอาด

  • ธุรกิจเกี่ยวกับซอฟต์แวร์

การแบ่งตลาด (Segmentation) : ทำการแบ่งกลุ่มลูกค้าตามขนาดธุรกิจ หรือ อุตสาหกรรม

การเลือกลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย (Targeting) : เลือกกลุ่มลูกค้าที่ต้องการระบบซอฟต์แวร์เพื่อเข้ามาช่วยทำให้ธุรกิจเกิดผลลัพธ์ที่ดี

การวางแผนการตลาด (Positioning) : สร้างเอกลักษณ์ของซอฟต์แวร์ เน้นประสิทธิภาพในการใช้งานและความเชื่อถือ

การวิเคราะห์และวางกลยุทธ์ทางการตลาดด้วยหลัก STP Marketing เป็นอีกหนึ่งเทคนิคที่สำคัญในทุกธุรกิจ เพื่อให้สินค้า หรือบริการสามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้อย่างตรงจุดและมีประสิทธิภาพ หากคุณกำลังมองหาที่ปรึกษาเพื่อวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาด สามารถติดต่อทีมงาน Enterblueprint บริษัท รับทำ seo ของเราได้ทุกเวลา เรามีผู้เชี่ยวชาญพร้อมให้คำปรึกษามั่นใจได้เลยว่าธุรกิจของคุณเติบโตอย่างมั่นคงแน่นอน 

คำถามที่พบบ่อย

  • STP คืออะไร?

STP Marketing หมายถึง กระบวนการทางการตลาด ที่มี 3 ขั้นตอนหลัก ที่ถูกนำมาใช้ในการวิเคราะห์และวางแผนการตลาด คือ

    • Segmentation : แบ่งกลุ่มลูกค้าตามลักษณะต่าง ๆ เพื่อวิเคราะห์ภาพรวมของตลาด โดยหากลุ่มลูกค้าที่แท้จริงของสินค้าหรือธุรกิจของเรา 
    • Targeting : การเลือกกลุ่มลูกค้าที่เหมาะสมสำหรับการสื่อสาร โดยใช้ข้อมูลที่ได้จากขั้นตอน Segmentation และสร้างกลยุทธ์การตลาดต่อไป
    • Positioning : การกำหนดตำแหน่งของสินค้าหรือธุรกิจในตลาด ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น โดยใช้ข้อมูลจากขั้นตอน Segmentation และ Targeting เพื่อสร้างจุดแข็งของธุรกิจ
  • ข้อดีของ STP Marketing มีอะไรบ้าง

STP Marketing มีข้อดีและประโยชน์ที่ช่วยให้ธุรกิจประสบความสำเร็จในการตลาด มีดังนี้

    • การเพิ่มประสิทธิภาพในการตลาด และตอบสนองต่อความต้องการของกลุ่มลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
    • เลือกกลุ่มลูกค้าได้อย่างเหมาะสม ช่วยให้ธุรกิจไม่ต้องสูญเสียทรัพยากรในการตลาดกับกลุ่มที่ไม่เกี่ยวข้อง
    • ช่วยให้ธุรกิจสามารถมุ่งเน้นไปที่ลูกค้าเป้าหมาย และสร้างความแตกต่างจากคู่แข่ง
    • STP Marketing เหมาะกับธุรกิจแบบไหน

STP Marketing เหมาะสำหรับธุรกิจในหลายประเภท ดังนี้

    • ธุรกิจ B2C (Business to Consumer) เช่น ร้านค้าออนไลน์, ร้านอาหาร, โรงแรม, สินค้าความงาม
    • ธุรกิจ B2B (Business to Business) เช่น  บริษัทซอฟต์แวร์, บริษัทท่องเที่ยว, บริษัทโฆษณา
    • ธุรกิจ E-commerce เช่น  ร้านค้าออนไลน์, แพลตฟอร์มการค้าออนไลน์
    • ธุรกิจเซอร์วิส เช่น บริการเครือข่ายโทรศัพท์, บริการอินเทอร์เน็ต

ติดต่อเรา > คลิก

ติดต่อเรา ปรึกษาฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย
บทความล่าสุด
Enterblueprint Logo